Skip to content

แนวโน้มพลังงานทดแทน: ประเทศไทย

พิมพ์โดย: Open Development Thailand

ภาระผูกพันที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 20-25 จากสถานการณ์ปกติภายใน พ.ศ. 2573 จะต้องมีการดำเนินการร่วมกันในการลดคาร์บอนของภาคพลังงาน ประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นร้อยละ 30 ของการบริโภคพลังงานรวมภายในปี พ. ศ. 2579 ไว้ในแผนพัฒนาพลังงานทางเลือกการศึกษานี้ประเมิน 3 สาขาย่อยประกอบด้วย การผลิตพลังงาน การใช้พลังงานความร้อน และพลังงานชีวภาพโดยมุ่งเน้น การระบุและการวิเคราะห์ความท้าทายที่สำคัญในการบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาพลังงานทางเลือก พ.ศ.2558 มีการดำเนินการประเมินเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนในเชิงลึกโดยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ REmap ขององค์การพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ ซึ่งศักยภาพในการใช้พลังงานทดแทนมีมากขึ้นเมื่อมีปัจจัยเพิ่มขึ้น ได้แก่ ต้นทุน ผลกระทบจากภายนอกและการลงทุน

ผลการวิจัยที่สำคัญแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนในพลังงานขั้นสุดท้ายจากเป้าหมายในปัจจุบันของแผนพลังงานทางเลือกจากร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2579 เป็นร้อยละ 37 การศึกษายังนำเสนอทางเลือกด้านเทคโนโลยีที่แตกต่างจากแผนพัฒนาพลังงานทางเลือก พ.ศ.2558 ด้วยการประหยัดค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปีก่อนที่จะได้รับประโยชน์จากผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามเพื่อให้บรรลุผลประโยชน์ประเทศไทยจะต้องลงทุนอย่างมีนัยสำคัญในระบบพลังงานของประเทศในช่วง 2 ทศวรรษข้างหน้าและพิจารณาถึงผลการวิจัยและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาและความท้าทายๆที่เกิดขึ้นในอนาคต

ทรัพยากรข้อมูล (1)

ตัวอย่างทรัพยากรข้อมูล - แนวโน้มพลังงานทดแทน: ประเทศไทย

ข้อมูลเพิ่มเติม

ฟิลด์ ค่า
ประเภทเอกสาร Reports, journal articles, and research papers (including theses and dissertations)
ภาษาของเอกสาร
  • ภาษาอังกฤษ
หัวข้อเรื่อง
  • Energy
  • Renewable energy production
  • SDG7 Affordable and Clean Energy
  • Sustainable Development Goals
พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ (ช่วงข้อมูล)
  • ไทย
ลิขสิทธิ์ Yes
ข้อจำกัดการเข้าถึงและการใช้งาน

นอกจากระบุไว้เป็นอย่างอื่น เนื้อหาในเอกสารนี้อาจได้รับการใช้ การใช้ร่วมกัน คัดลอก ผลิตซ้ำ พิมพ์และ/หรือจัดเก็บไว้โดยเสรี บนเงื่อนไขว่าองค์การพัฒนาพลังงานทดแทนระหว่างประเทศเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์และได้รับการยอมรับอย่างถูกต้อง เนื้อหาในเอกสารฉบับนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคลที่ 3 อาจอยู่ภายใต้ข้อกำหนดในการใช้และข้อจำกัดที่แยกกันและสิทธิ์ที่เหมาะสมจากบุคคลที่ 3 เหล่านี้อาจจำเป็นต้องได้รับความปลอดภัยก่อนการใช้เนื้อหาดังกล่าว

เวอร์ชั่น / รุ่น 1.0
ใบอนุญาต unspecified
ข้อมูลติดต่อ

IRENA- Office of the Permanant Observer to the United Nations Uganda house 336 E 45th Street New York, NY 10017, USA +49 228 391 79085 info@irena.org

ผู้แต่งร่วม (บุคคล) Yong Cheng, Nicholas Wagner and Rodrigo Leme (IRENA), Praphon Wongtharua (Department of Alternative Energy and Energy Conservation) and Prakob Surawattanawan (Consultant)
ผู้แต่งร่วม (หน่วยงาน) IRENA and Ministry of Energy
เลขหนังสือ ISBN 978-92-9260-035-8
สถานที่พิมพ์ Abu Dhabi
สำนักพิมพ์ IRENA
วันที่พิมพ์ 2017
จำนวนหน้า 104
วันที่อัพโหลด กุมภาพันธ์ 5, 2018, 04:11 (UTC)
แก้ไขเมื่อ มีนาคม 2, 2018, 04:47 (UTC)